ขั้นตอนการทำกระดาษสา                                                                           

 
  1 : การคัดเลือกวัตถุดิบ                                                                              


                  คัดเลือกเปลือกปอสาแห้งที่อ่อนและแก่แยกจากกัน ถ้าเปลือกปอสามีความยาวมากให้ตัดเป็น
   ท่อน ท่อนหนึ่งยาวไม่เกิน 1.00 เมตรนำไปแช่น้ำ ประมาณ 3 ชั่วโมงขึ้นไปแต่ไม่ควรเกิน 24 ชั่วโมง การ
   แช่น้ำจะช่วยให้เปลือกปอสาอ่อนตัว


                                          


   2 : การต้ม                                                                                               


                   จากนั้นนำเปลือกปอสาที่อ่อนตัวไปใส่ภาชนะต้มใส่โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์หรือน้ำด่าง
   จากขี้เถ้าเพื่อช่วยให้โครงสร้างของเปลือกปอสาเปื่อยและแยกจากกันเร็วขึ้น  ถ้าต้มเปลือกปอสาอ่อน
   ใช้โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์น้อย ต้มเปลือกปอสาแก่ต้องใช้มากขึ้น การต้มแต่ละครั้งใช้โพแทสเซียม
   ไฮดรอกไซด์ประมาณ 10 % ของน้ำหนักเปลือกปอสาแห้ง ถ้าใช้มากไปจะทำให้เยื่อสาถูกทำลายมาก
   ในระหว่างต้ม ต้มนานประมาณ 2-3 ชั่วโมง เมื่อต้มเสร็จแล้วนำปอสาล้างน้ำจนหมดด่าง  (ในการล้าง
   ปอสานี้ควรล้างอย่างน้อย 3 ครั้ง)

 

                           


   3 : การทำเป็นเยื่อ                                                                                     

   ทำได้ 2 วิธี คือ

           
    3.1 ทุบด้วยมือ

               การทุบด้วยมือต้องใช้ เวลานาน ปอสาหนัก 2 กก. ใช้เวลาทุบนาน ประมาณ 5 ชั่วโมง การทุบ
   ปอสานั้นให้ทุบเบาๆ ไม่ต้องออกแรงมากนัก จุดประสงค์ของการทุบปอสาคือ เพื่อแยกเส้นใยปอให้ออก
   จากกันเป็นเยื่อกระดาษ เท่านั้นหลังจากทุบจนคะเนว่าใช้ได้แล้วให้ลอง เอาเยื่อไปละลายน้ำดู ถ้าเห็นว่า
   เยื่อแยกออกจากกัน โดยไม่จับกันเป็นกระจุก เยื่อมีเส้นสม่ำเสมอเท่ากันก็เป็นอันว่าใช้ได้



                                                  


                 
3.2  การใช้เครื่องตีเยื่อ

                 
การใช้เครื่องตีเยื่อสามารถตีเยื่อปอสาจำนวน 2  กก.ให้กลายเป็นเยื่อได้ในเวลา 35 นาที ซึ่ง
   เครื่องตีเยื่อมีประสิทธิภาพในการตีเยื่อได้เร็ว กว่าการทุบด้วยมือถึง 8 เท่า  



                           

                                                                        ลักษณะปอสาซึ่งถูกตีให้เป็นเยื่อแล้ว



   4 : การฟอกเยื่อสา                                                                                    
 

                 เยื่อกระดาษสาทั่วไปมักฟอกไม่ขาวนัก แต่ถ้าต้องการให้กระดาษสาสีขาวมากๆก็ใช้ผงฟอกสี
  เข้าช่วย ได้แก่ Sodium hypo chloride หรือ Calcium hypo chloride ประมาณ1:10 โดยน้ำหนักผสม
  ในเครื่องตีเยื่อ ฟอกนานประมาณ 35 นาที ถ้าไม่มีเครื่องตีเยื่อก็ใช้น้ำยาฟอกเข้มข้น 15 กรัม : น้ำ 1 ลิตร
  แช่เยื่อสาลงในน้ำยาฟอกนานประมาณ 12 ชั่วโมง นำเยื่อสาไปล้างน้ำจนหมดกลิ่นน้ำยา แล้วจึงนำเยื่อ
  สาไปย้อมสีตามต้องการ


                          

                                                                               โซเดียมไฮเปอร์คลอไรด์


   5 : การย้อมสีเยื่อสา                                                                                  


                ถ้าต้องการทำกระดาษสาเป็นสีต่างๆจะต้องนำเยื่อสาไปย้อมสีก่อนการทำเป็นแผ่นกระดาษ
   การย้อมสีทำได้ 2 วิธี คือ


                
5.1 ย้อมในเครื่องตีเยื่อ


         1. นำเยื่อสาที่ฟอกขาวแล้วใส่ลงในเครื่องตีเยื่อและใส่นำลงไป
         2. ละลายสีกับนำเพียงเล็กน้อยให้มีลักษณะเป็นน้ำสีข้นๆ
         3. เดินเครื่องตีเยื่อและค่อยๆเติมน้ำสีลงไปทีละน้อยจนสีติดเยื่อสาทั่ว จะให้สีอ่อนหรือแก่ก็แล้วแต่
             ความต้องการ
         4. ถ่ายเยื่อสาออกจากเครื่องตีเยื่อ ปล่อยน้ำทิ้งไป  นำเยื่อสาใส่ภาชนะไว้เพื่อเตรียมไว้ทำเป็นแผ่น
             กระดาษต่อไป

 

                                             


                    
5.2 การย้อมสีโดยการต้ม

           
1. ละลายสีย้อมผ้าในน้ำในถังต้มที่เตรียมไว้ รอให้น้ำเดือด
           2. นำเยื่อสาที่ฟอกขาวแล้วลงไปต้ม ใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง
           3. นำเยื่อสาที่ต้มจนเกิดสีตามต้องการออกมาล้างน้ำให้
           4. สะอาดประมาณ 3 ครั้งจนแน่ใจว่าสีไม่ติดมือ
 


                                      
 

   6 : การใช้น้ำยางผสมกับเยื่อ ในขั้นตอนกระจายเยื่อ                                         
 

                 การทำกระดาษสาคุณภาพดีจะต้องใส่น้ำยางที่ได้จากฝักกระเจี๊ยบสดลงไปในถังช้อนกระดาษ
   เพื่อให้น้ำยางจากฝักกระเจี๊ยบเข้ากับเยื่อสา

                 
ขั้นตอนการกระจายเยื่อ

                 นำเยื่อปอสาใส่ในอ่างหรือภาชนะที่เหมาะสม ใส่น้ำให้มีระดับพอเหมาะเติมน้ำยางกระเจี๊ยบ
   แล้วใช้ไม้พายคนเยื่อในอ่างน้ำให้ทั่ว เพื่อให้ เยื่อลอยตัวและกระจายออกจากกันอย่างสม่ำเสมอ



                                                       


      
              น้ำยางจากฝักกระเจี๊ยบสดมีคุณสมบัติพิเศษ ดังนี้

                   
1. ทำให้เยื่อสาลอยตัวและเยื่อกระจายออกจากกันโดยสม่ำเสมอ ซึ่งทำให้การช้อนแผ่น
                       กระดาษได้เนื้อกระดาษที่มีความหนาบางสม่ำเสมอดีกว่าไม่ใส่น้ำยาง

                  
 2. ช่วยให้การช้อนแผ่นกระดาษง่ายขึ้น เพราะน้ำยางมีความลื่น

                   3.
  น้ำยางจะทำให้แผ่นกระดาษที่วางซ้อนกันในเวลาช้อนขึ้นจากถังไม่ติดกันและสามารถ
                         ลอกออกจากกันได้ทีละแผ่น

 หมายเหตุุุุุุุุุุุุ  ถ้าต้องการกระดาษบางให้ใส่น้ำยางมาก  และถ้าต้องการกระดาษหนาให้ใส่น้ำยางน้อย
 

                                                   
 

   7 : การทำเป็นแผ่นกระดาษ                                                                         
 

           อุปกรณ์การทำแผ่นกระดาษ
 
                                                           
 
                               ถังช้อนแผ่นกระดาษ                  ตะแกรงช้อนแผ่นกระดาษ

 

              วิธีทำเป็นแผ่นกระดาษ ทำได้ 2 วิธี คือ

 
              
7.1 แบบช้อน

             ใช้แม่พิมพ์ซึ่งมีลักษณะเป็นตะแกรงไนล่อนขนาดกว้าง 50 ซม.ยาว 60 ซม. (ขนาดตะแกรงขึ้น
   อยู่กับขนาดกระดาษที่ต้องการ) ช้อนตักเยื่อเข้าหาตัวยกตะแกรงขึ้นตรงๆแล้วเทน้ำออกไปทางด้านหน้า
   โดยเร็วจะช่วยให้กระดาษมีความสม่ำเสมอ



                                            
 

                 
7.2 แบบแตะ
 
                 ใช้ตะแกรงที่ทำจากผ้าใยบัวหรือผ้ามุ้งซึ่งมีเนื้อละเอียด และใช้วิธีชั่งน้ำหนักของเยื่อสาเป็นตัว
   กำหนดความหนาของแผ่นกระดาษ  นำเยื่อใส่ในอ่างน้ำใช้มือแตะเกลี่ยกระจาย  เยื่อบนแม่พิมพ์ให้สม่ำ
   เสมอ

 

                                             


   8 : การตากให้แห้ง                                                                                    
 

                นำตะแกรงที่ช้อนเยื่อกระดาษแล้วไปวางพิงกันตากแดดโดยวางเป็นหมู่ๆละ 4 ตะแกรง โดยวาง
   ตะแกรงทำมุม 70 องศา ซึ่งจะทำให้กระดาษที่ตากแห้งเร็วกว่ามุม 45 องศาเนื่องจากน้ำไหลลงข้างล่าง
   เร็วกว่านั้นเองนำตะแกรงไปตากแดดประมาณ 1-3 ชั่วโมง กระดาษสาจะแห้งติดกันเป็นแผ่น

 

                                             
 

 
   9 : การลอกแผ่นกระดาษ                                                                           


                   เมื่อกระดาษที่นำไปตากแห้งสนิทดีแล้วให้ลอกกระดาษสาออกจากตะแกรงช้อนแผ่นกระดาษ
   และนำกระดาษสาที่ลอกแล้วมาซ้อนกันเป็นพับๆละ 50 แผ่น เพื่อเตรียมการจำหน่าย (เปลือกปอสาหนัก
   1 กก. สามารถทำกระดาษสาได้ประมาณ 10 แผ่น )


                                         


   10 : การคัดเลือกและการบรรจุกระดาษสา                                                      
 

               กระดาษสาที่แกะออกจากตะแกรงลวดตามปกติจะมีสีขาวขุ่นๆเนื้อกระดาษไม่เรียบ มีลวดลาย
   เยื่อไม้อยู่ในแผ่นกระดาษ มีความหนาบางเท่ากัน ถ้าย้อมสี สีจะสม่ำเสมอกันตลอดแผ่น ไม่เป็นรอยด่าง

               ก่อนการนำจำหน่ายจะต้องคัดเลือกเอากระดาษที่เสียออก ( ส่วนมากมักจะขาดที่ริม มีรู สีด่าง )
  เรียงกระดาษที่ดีซ้อนกันเป็นพับๆละ 50 แผ่น แล้วมัดรวมกันเป็นมัดๆละ 10 พับ ( 500 แผ่น )

 

                                        

 
   คุณสมบัติพิเศษของกระดาษสา                                                                    

 
                      คุณสมบัติพิเศษของกระดาษสาเกิดมาจากวัตถุดิบปอสา  ซึ่งเป็นพืชที่มีเยื่อเป็นเส้นใยยาว
   มีความเหนียวมาก สามารถนำมาแปรสภาพโดยการทุบตีเยื่อไม้ เพื่อนำมาทำเป็นเยื่อกระดาษ ทำเชือก
   หรือใช้เป็นเยื่อผสมปูนขาว  ปูนปลาสเตอร์ในการหล่อผลิตภัณฑ์ โดยเสริมความแข็งแรงคงทนให้แก่ตัว
   ผลิตภัณฑ์นั้นๆได้


                       สำหรับกระดาษสานั้นเป็นกระดาษที่แปรสภาพมาจากการทุบเยื่อไม้บริสุทธิ์ให้กระจาย
  ออกและยังคงรักษาคุณภาพของเยื่อกระดาษเป็นเส้นใยเกาะประสานกันอย่างเหนียวแน่น มีความนุ่ม ทน
  ทานเก็บไว้ได้นานนับร้อยปี โดยไม่มีการผุกร่อน แตกหัก แห้งกรอบ อีกทั้งเนื้อกระดาษสาไม่มีการผสม
  พวกแป้งหรือดินขาว แมลง ปลวก มอดจึงไม้ชอบกัดแทะ  ซึ่งสิ่งนี้เป็นคุณสมบัติดีเด่นของกระดาษสาที่
  กระดาษชนิดอื่นๆไม่มี


                       ในด้านสิ่งแวดล้อมนั้นเศษกระดาษสาที่เหลือจากการทำผลิตภัณฑ์สามรถนำมาหมุนเวียน
  ใช้ใหม่ได้ โดยนำไปแช่น้ำและตีเยื่อทำเป็นกระดาสาแผ่นใหม่  นอกจากนี้ กระดาษสายังสามารถย่อย
  สลายให้กลับเป็นปุ๋ยในดิน หรือเป็นอาหารของพืชได้อีกด้วย